วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การเข้าหัว RJ45

การเข้าหัว RJ45 ตัวผู้ มีขั้นตอนดังนี้

1. ปอกเปลือกสาย UTP ด้านที่ต้องการต่อ ยาวประมาณ 0.5 - 1 นิ้ว ดังรูปที่ 10.




2. คลายเกลียวที่สายทั้ง 4 คู่

3. จัดสายเรียงสีให้ได้ตามมาตรฐาน เช่นตามมาตรฐาน T568B จัดให้สายเรียงขนานกัน ไปและต้องระวังมิให้จัดสายผิดหรือกลับด้านกัน โดยถ้าหันปลายสายออกจากตัวเรา สายเส้นที่หนึ่ง จะอยู่ทางซ้ายมือสุด ซึ่งด้านนี้เมื่อต่อกับหัว RJ-45 ด้านที่มีก้านตัวล๊อกจะอยู่ด้านล่าง ส่วนด้านบน จะเป็นด้านที่เรียบ ลำดับการจัดพินตามมาตรฐาน EIA/TIA 568B แสดงได้ดังรูปที่ 11. หรือดังนี้




ความหมายของคำต่าง ๆ มีดังนี้

pin แทนช่องแต่ละช่องในหัวต่อ RJ-45 ที่จะนำสาย UTP เข้าไปต่อด้วย
pair แทนคู่ของสายแต่ละคู่ทั้งสี่คู่ในสาย UTP
name แทนหน้าที่ของสายแต่ละเส้นที่ใช้ส่งข้อมูลจริง ตามมาตรฐาน T568 ซึ่งจะมีทั้งรับและส่ง ข้อมูล โดยแต่ละทางของการส่งข้อมูลจะใช้แรงดันไฟเป็น 2 ขั้ว เพื่อให้มีการหักล้างกันของ สัญญาณในสายเพื่อการลดสนามแม่เหล็กที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งข้อมูล



รูปที่ 11. การเรียงสีตามมาตรฐาน T568B



4. ใช้มือรีดสายทั้งแปดเส้นที่เรียงกันถูกต้องแล้ว ให้ขนานและเรียบ ไม่ให้มีการซ้อนเกย กัน

5. ตัดปลายสายทั้งแปดเส้น ให้ปลายเรียบเสมอกัน โดยตัดให้ห่างจากเปลือกนอกของสาย ไม่เกิน 0.5 นิ้ว

6. ใช้มือหนีบสายทั้งแปดเส้นให้แน่น และค่อย ๆ สอดเข้าไปในตัวหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ โดย ให้ปลายทั้งแปดเข้าไปเสมอกันตลอด ดังรูปที่ 12. ถ้ามีการเหลื่อมกันหรือปลายไม่เสมอกันควรนำ สายออกมาจัดใหม่ สอดปลายสายเข้าไปจนสุดหัวต่อ ซึ่งเมื่อมองดูที่หัวต่อใกล้ ๆ ที่ด้านปลาย จะต้องมองเห็นปลายสายทั้งแปดเส้น ชนกับสุดปลายด้านในของหัวต่อ RJ-45 ถ้าปลายสายทั้งแปด ไม่เสมอกัน หรือบางเส้นไม่ชนสุดปลายของหัวต่อ ควรทำใหม่



รูปที่ 12. การตัดปลายสายก่อนจะใส่


7. เมื่อเห็นว่าปลายสายถูกต้องดีแล้ว ใช้คีมหนีบที่หัวต่อ บีบให้แน่น เพื่อให้สายและหัวต่อ แนบสนิทกัน ดังรูปที่ 13. ถ้าบีบไม่แน่น อาจทำให้สายมีปัญหาได้เมื่อใช้งานจริง




นอกจากนี้ ในกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงสองเครื่องเข้าด้วยกัน โดยไม่ ต้องการใช้ฮับ แต่เป็นการต่อระหว่างทั้งสองเครื่องโดยตรง เช่นการต่อเครื่องที่ใช้ ระบบปฏิบัติการ วินโดว์95 สองเครื่องเข้าด้วยกัน ก็สามารถทำได้ โดยใช้การไขว้สายหรือการสลับสายที่ปลาย หัวต่อของสายอีกด้านหนึ่ง เช่นตามมาตรฐาน T568B ด้านหนึ่งต่อตามแบบปกติ ส่วนอีกด้านให้ต่อ ดังนี้



การต่อสาย UTP เข้ากับหัวต่อตัวเมีย หัวต่อตัวเมีย จะใช้ฝังไว้ตามกำแพงหรือพื้นห้องเป็นจุด ๆ สำหรับให้ต่อกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย หัวต่อตัวเมียมีลักษณะเป็นเบ้าเสียบ ภายในจะมีตัวขั้วซึ่งเป็น ส่วนที่ต่อกับสาย UTP ส่วนที่เชื่อมโยงกับแผงพักสาย ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ในห้องศูนย์กลางหรือ ห้องควบคุมระบบเครือข่ายนั้น ๆ หรืออาจจะต่อกับฮับโดยตรงเลยก็ได้ โดยอีกด้านจะต่อเป็นหัว RJ-45 ตัวผู้ใช้เสียบกับฮับ ตัวขั้ว ( Jack Face ) จะต้องมีการระบุได้ด้วยว่า ใช้กับมาตรฐานใด T568A หรือ T568B ใช้กับสาย คู่ตีเกลียวประเภท ( CATEGORY )ใด โดยทั่วไปตามท้องตลาดมักจะเป็น CAT3 หรือ CAT5 การใช้งานควรจะใช้ตามที่ระบุไว้ ตัวขั้วจะมีปลายสองด้าน ด้านหนึ่งจะมีช่องสำหรับเสียบหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ ด้านนี้จะเป็นด้านที่หันออกจากผนังหรือพื้น อีกด้านจะเป็นด้านที่สำหรับนำสาย UTP เข้ามาใส่ ตัวขั้วจะมีช่องเป็นรอยบากแคบ ๆ สำหรับใส่สายแปดช่อง แบ่งเป็นสองด้านมี ช่องว่างตรงกลางระหว่างทั้งสองด้าน ด้านละสี่ช่อง ถ้าให้ด้านที่ใช้ต่อกับ RJ-45 ตัวผู้เป็นด้านบน ตามมาตรฐาน T568B ช่องด้านซ้ายจะสำหรับสายคู่เขียวและน้ำตาล ด้านขวาคู่ฟ้าและส้ม ซึ่งจะมีสี กำกับไว้ที่ระหว่างช่องของแต่ละคู่ โดยในแต่ละคู่ ด้านบนให้ใส่สายสีริ้วด้านล่างจึงเป็นสายสีนั้น ๆ เช่นฝั่งด้ายซ้ายสำหรับคู่สีเขียวและน้ำตาล จะใส่สายดังนี้คือ ขาวเขียว-เขียว-ขาวน้ำตาล-น้ำตาล ส่วนด้านขวาจะเป็น ขาวฟ้า-ฟ้า-ขาวส้ม-ส้ม แต่ทั้งนี้ผู้ผลิตตัวขั้วอาจจัดรูปแบบสีแตกต่างจากนี้ได้ ซึ่งผู้ผลิตจะมีใบคู่มือกำกับมาให้ ก่อนการใช้งานจริงจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อน ส่วนแผงพัก สายจะมีลักษณะคล้ายกับตัวขั้วที่เรียงติดกันหลาย ๆ ตัวเป็นแนวเดียวกัน ดังรูปที่ 14. รูปแบบการ ใส่สายในแผงพักสายควรดูตามคู่มือกำกับของแผงพักสายนั้น




รูปที่ 14. แผงพักสายที่ยังไม่ได้ต่อสาย



การใส่สายให้กับตัวขั้ว มีขั้นตอนดังนี้


1. ปอกเปลือกหุ้มสาย UTP ออกให้ยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว
2. นำสาย UTP สอดไปช่องตรงกลางของตัวขั้ว โดยแยกสายทั้งสี่คู่ออกเป็นสองด้านตาม คู่สีให้มีลักษณะคล้ายตัว T ดังรูปที่ 15.



รูปที่ 15. การแยกสาย UTP ใส่ลงในตัวขั้ว



3. จัดสายแต่ละสีสอดเข้าไปตามช่องรอยบากสำหรับแต่ละสี สอดโดยการอ้อมจากด้าน นอกของตัวขั้ว เข้าสู่ช่องหนีบ ปลายสายจะชี้เข้าหาด้านตรงกลางของตัวขั้ว ดังรูปที่ 16.



รูปที่ 16. การสอดสายไฟเข่าสู่รอยบากของตัวขั้ว



4. ใช้ตัวกระแทกสาย ตอกหรือกดสายลงไประหว่างช่องรอยบากให้แน่น ถ้าไม่มีไม่มีตัว กระแทกสาย อาจใช้ด้านสันของคัตเตอร์กดแทนก็ได้ ทำจนครบทั้งแปดเส้น ดังรูปที่ 17.



รูปที่ 17. การใช้ตัวกระแทกสาย กดสายลงไประหว่างช่องรอยบาก

การตรวจสอบข้อบกพร่องของสาย และหัวต่อ ในปัจจุบัน มีการผลิตอุปกรณ์สำหรับตรวจการทำงานและหาข้อบกพร่องของสาย ( Tester ) ออกมาจำหน่ายหลายผลิตภัณฑ์ หลายชนิด หลายยี่ห้อ ดังรูปที่ 18. ซึ่งโดยทั่วไปจะมี ลักษณะเป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ที่ปลายสายทั้งสองด้าน จะมีการส่งสัญญาณ และแสดงผลการทำงาน ออกมา ซึ่งการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว จะทำให้สะดวกและประหยัดเวลา บางผลิตภัณฑ์สามารถบอกถึง ความยาวของสายได้ด้วย ดังตัวอย่างที่ผู้เขียนใช้ของ Hewlett Packard รุ่น HP340 SCANNER ซึ่ง มี ฟังก์ชันในการตรวจสอบทำงานได้หลายอย่าง ไม่เฉพาะแต่การตรวจสอบสาย UTP และหัวต่อ RJ-45 เท่านั้น



รูปที่ 18.อุปกรณ์ตรวจสอบแบบต่าง ๆ



การตรวจสอบเมื่อนำปลายหัวต่อสายทั้ง 2 ด้านต่อเข้ากับอุปกรณ์ตรวจ เครื่องจะรายงาน ผลออกมาเป็นตัวเลข 1 ถึง 8 ซึ่งตัวเลขแต่ละตัวจะแทนสายแต่ละสาย การรายงานจะรายงานเป็น ตัวเลขสองบรรทัดที่ต้องตรงกันทั้งสองบรรทัดและแสดงออกมาครบทั้ง 1 ถึง 8 จึงจะแสดงว่าสาย และหัวต่อไม่มีข้อบกพร่อง เช่น

12345678

12345678

แต่ถ้าตัวเลขบางตัวขาดหายไป หรือ มีการสลับตัวเลขกัน เช่น

12345678

12_46578

แสดงว่ามีข้อบกพร่องเกิดขึ้น ถ้าเป็นกรณีตัวเลขหายให้ลองใช้คีมหนีบ บีบที่หัว RJ-45 อีกครั้งให้ แน่น ๆ ถ้าแน่ใจว่าหัวใช้ได้ หรือบีบแน่นดีแล้ว แสดงว่าอาจเกิดจากเส้นลวดในสาย ซึ่งกรณีนี้มักไม่ ค่อยพบมากนักเพราะข้อบกพร่องส่วนใหญ่มักเกิดจากการบีบหัว RJ-45 ไม่แน่นมากกว่า ส่วนกรณี ที่ตัวเลขสลับกันแสดงว่าใส่สายผิดที่เส้นนั้น ให้ตรวจสอบดูสายด้านที่ต่อผิด จากนั้นตัดหัวต่อ RJ- 45 ด้านนั้นทิ้งและจัดการเข้าหัวใหม
ในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์ตรวจสอบ อาจใช้เศษสายไฟซึ่งอาจเป็นเศษสายเส้นใดเส้นหนึ่งของ สาย คู่ตีเกลียว ที่ตัดออกมา เชื่อมที่ปลายด้านหนึ่งทีละคู่ และใช้โอห์มมิเตอร์ ตรวจดูที่ปลายสายอีก ด้าน ทำทีละคู่ถ้าเข็มอยู่ที่ตำแหน่งศูนย์โอห์มแสดงว่าใช้ได้ ถ้ามีความต้านทานเกิดขึ้นในวงจร แสดงว่ามีข้อบกพร่องเกิดขึ้นที่สายคู่นั้น่

ข้อแนะนำในการเดินสาย คู่ตีเกลียว

• ควรใช้สาย UTP ที่ได้มาตรฐาน UL และควรเป็น CAT5
• ในการเข้าหัวหรือปอกปลายสาย ไม่ควรปอกและคลายเกลียวยาวเกิน 0.5 นิ้ว
• ระยะทางจากหัวต่อ และเกลียวภายในสายไม่ควรเกิน 0.25 นิ้ว
• ไม่ควรรัดหรือผูกสายให้แน่นเกินไป
• ไม่ควรทำให้สายงอหรือหักมากเกินไป
• ไม่ควรจัดวางสายใกล้อุปกรณ์ที่อาจทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก เพราะอาจเกิดการรบกวนได้
• ไม่ควรกระชากสาย หรือดึงจนตึงในขณะติดตั้ง
• ต้องติดสัญลักษณ์ที่ปลายสายทั้งสองด้านเพื่อให้สามารถจำแนกสายแต่ละเส้นออกจากกัน ได้
• สายที่ใช้เชื่อมระหว่างฮับและหัวต่อตัวเมียไม่ควรยาวเกิน 90 เมตร เนื่องจากต้องเตรียม สายแพ็ทธ์สำหรับเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และหัวต่อตัวเมียอีกประมาณ 10 เมตร ถ้าต่อให้ยาวเกินกว่า 100 เมตรจะทำให้เกิดการลดทอนของสัญญาณมาก




เทคโนโลยีเครือข่าย
ความรู้พื้นฐานของเทคโนโลยีเครือข่าย
ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในหน่วยงานประเภทต่างๆ มากมาย ซึ่งมีผลทำให้การทำงานในองค์กรหรือหน่วยงาน สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ และสามารถพัฒนาการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในองค์กร หรือหน่วยงานก็เริ่มมีการพัฒนาขึ้นแทนที่จะใช้ในลักษณะหนึ่งเครื่องต่อหนึ่งคน ก็ให้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ มาเชื่อมต่อกัน เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เป้าหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. มีการใช้ทรัพยากรทางฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ร่วมกัน เนื่องจากอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดราคาค่อนข้างสูง เพื่อให้ใช้ทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการนำเอาอุปกรณ์เหล่านั้นมาใช้ร่วมกันเป็นส่วนกลาง เช่น เครื่องพิมพ์,พลอตเตอร์,ฮาร์ดดิสก์ และโปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น
2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ สำหรับทุกคนที่อยู่ในระบบเครือข่าย โดยไม่ต้องสนใจว่าข้อมูลเหล่านี้จะเก็บอยู่ที่ใด เช่น ผู้ใช้คนหนึ่งอาจจะอยู่ห่างจากสถานที่ที่เก็บข้อมูลถึง 1000 กิโลเมตร แต่เขาก็สามารถใช้ข้อมูลนี้ได้เหมือนกับข้อมูลเก็บอยู่ที่เดียวกับที่ๆ เขาทำงานอยู่ และยังสามารถกำหนดระดับการใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ ซึ่งจะเป็นการรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลซึ่งอาจเป็นความลับ
3. การติดต่อระหว่างผู้ใช้แต่ละคนมีความสะดวกสบายขึ้น หากผู้ใช้อยู่ห่างกันมาก การติดต่ออาจไม่สะดวก ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีบทบาทในการเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งอาจจะเป็นการติดต่อในลักษณะที่ผู้ใช้ที่ต้องติดต่อด้วยไม่อยู่ ก็อาจฝากข้อความเอาไว้ในระบบ เมื่อผู้ใช้คนนั้นเข้ามาใช้ระบบก็จะมีการแจ้ง ข่าวสารนั้นทันที
การแบ่งประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้ตามลักษณะต่างๆ ดังนี้คือ
ตามขนาด: แบ่งเป็น Workgroup , LAN , MAN และ WAN
ลักษณะการทำงาน: แบ่งเป็น peer-to-peer และ client-server
ตามรูปแบบ: แบ่งเป็น Bus ,Ring และ Star
ตาม bandwidth: แบ่งเป็น baseband และ broadband หรือว่าเป็น megabits และ gigabits
ตามสถาปัตยกรรม: แบ่งเป็น Ethernet หรือ Token-Ring
ในปัจจุบันเรานิยมจัดประเภทของเครือข่ายตามขนาดทางภูมิศาสตร์ที่ระบบเครือข่ายนั้นครอบคลุมอยู่ ได้แก่
1. ระบบเครือข่ายระยะใกล้ (LAN : Local Area Network) เป็นเครือข่ายซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดเชื่อมโยงกันอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กัน เช่น อยู่ภายในแผนกเดียวกัน อยู่ภายในสำนักงาน หรืออยู่ภายในตึกเดียวกัน
2. ระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN : Wide Area Network) เป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยเครือข่าย LAN ตั้งแต่ 2 วงขึ้นไปเชื่อมต่อกันในระยะทางที่ไกลมาก เช่น ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ
3. ระบบเครือข่ายบริเวณเมืองใหญ่ (MAN : Metropolitan Area Network) เป็นระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจตั้งอยู่ห่างไกลกันในช่วง 5 ถึง 50 กิโลเมตร ผู้ใช้ระบบเครือข่ายแบบนี้มักจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่จำเป็นจะต้องติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ด้วยความเร็วสูงมาก โดยที่การสื่อสารนั้นจำกัดอยู่ภายในบริเวณเมือง
สื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูล
ในระบบเครือข่ายจะต้องมีสื่อที่ใช้ในการเชื่อมต่อสถานีงานต่างๆ ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน เพื่อส่งข้อมูล ซึ่งสื่อเหล่านี้จะมีหลายแบบให้เลือกใช้ โดยแต่ละแบบเองก็จะมีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันออกไปตามแต่ว่าจะพิจารณาโดยยึดราคา หรือศักยภาพเป็นเกณฑ์
สื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูล (Transmission media) แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. ประเภทมีสาย ได้แก่ สายคู่ไขว้ (Wire pair หรือ Twisied pair หรือสายโทรศัพท์), สายโคแอกเชียล (Coaxial Cables), เส้นใยแก้วนำแสง หรือไฟเบอร์ออฟติกส์ (Fiber optics)
2. ประเภทไม่มีสาย ได้แก่ ไมโครเวฟ (Microwave) และดาวเทียม (Satellite Tranmission)
3. ระบบอื่น ๆ ได้แก่ ระบบวิทยุ (Radio Transmission), ระบบอินฟาเรด (Infrared Transmission) และ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular Transmission)
ประเภทมีสาย
1. สายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable) เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่ตีเกลียวสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.1 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP) เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวนจากภายนอกได้ง่าย แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง




สิ่งที่ได้จากการสอบปฏิบัติการเข้าหัว RJ-45

1.ได้รู้ขั้นตอนการจั๊มหัว RJ-45
2.สามารถนำไปใช้ในชีวิตประวันได้
3.สามารถนำไปสอนกับบุคคลอื่นๆได้
4.สามารถนำมาประกอบอาชีพของเราได้

นางสาวเอมมิกา เจาะจง
รหัส 49043494346
sect.03
ผู้จัดทำ

5 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ดีๆค่ะ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณค่ะ ,,, ข้อมูลน่าอ่านมาก

    ตอบลบ
  3. ขอบคุนคับ

    สำหรับข้อมูลดีๆ

    ตอบลบ
  4. ข้อมูลน่าอ่านมากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  5. ข้อมูลดีมากๆค่ะ
    ขอบคุณนะค่ะ

    ตอบลบ