วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเชื่อมต่อแบบวงแหวน

1. ความหมาย
เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring networks) หมายถึง ระบบการสื่อสารข้อมูลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายติดต่อกัน เป็นวงแหวน ถ้าอุปกรณ์หนึ่งต้องการติดต่อสื่อสารกับอีกอุปกรณ์หนึ่ง อุปกรณ์นั้น ๆ จะต้องวิ่งผ่านอุปกรณ์ทุกตัวที่อยู่ระหว่าง 2 อุปกรณ์ ดังรูปที่ 6 แสดงเครือข่ายแบบวงแหวน ในเครือข่ายแบบนี้สัญญาณข้อมูลจะถูกส่งในลักษณะหน่วงเวลาและส่งเป็นทอดๆ (Relaying) จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในสายทิศทางเดียว จุดเด่นของรูปแบบนี้ คือ ง่ายต่อการควบคุมและจะไม่มีปัญหาของข้อมูลชนกัน (Data collision) ดังเช่นในเครือข่ายแบบบัส แต่อย่างไรก็ตามหากสายตัวกลางนำสัญญาณขัดข้องจะทำให้เครือข่ายขัดข้องได้



การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบวงแหวน
2. หน้าที่หลัก
เป็นการสื่อสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือสเตชั่นจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจ ข้อมูลสำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป
3. อุปกรณ์ที่ใช้
- ฮับ (Hub) คือ เป็นอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับ-ส่งหลาย ๆ สถานีเข้าด้วยกัน ฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับ-ส่งแบบอีเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีที่ต่ออยู่บนฮับนั้น ดังนั้นทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่ “แอดเดรส” (Address) ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเกจ
- อุปกรณ์สวิตซ์ (Switch) คือ อุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ
ในโทโปโลยี(รูปแบบการเชื่อมต่อ) แบบวงแหวน(Ring) นั้น ได้ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU) ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับ เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับ แล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก แล้วมันจะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์ ในตัวอีกด้วย ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานี นั้น ข้อมูลที่เป็นตำแหน่งที่อยู่ตรงกับ สถานีใด สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่มันจะไม่ลบข้อมูลออกจากระบบ มันยังคงส่งข้อมูลต่อไป ดังนั้นผู้ส่งข้อมูลครั้งแรกเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลบข้อมูลออกจากระบบ ครั้นเมื่อสถานีส่ง TOKEN มาถามสถานีถัดไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สถานีส่ง TOKEN จะทวนซ้ำข้อมูลเป็นครั้งที่สอง ถ้ายังคงไม่ได้รับคำตอบ จึงส่งข้อมูลออกไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ไม่ให้ระบบหยุดชะงักการทำงานลงของระบบ เนื่องจากสถานีหนึ่งเกิดการเสียหาย หรือชำรุด ระบบจึงยังคงสามารถทำงานต่อไปได้

4. ทำงานยังไง
โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิล เส้น เดียวเป็นวงแหวนดังรูปที่ได้แสดงไว้ การส่งข้อมูลจะใช้ทิศทางเดียวกันตลอดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัด กันไปเป็นทอด ๆ ถ้าแอดเดรสของมันไม่ตรงกับผู้รับตามที่เครื่องต้นระบุมา มันก็จะส่งผ่านไปยังเครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายคือตรงกับใครเครื่องนั้นก็รับ ไม่ส่งต่อ โครงสร้างแบบนี้มีข้อเสียคล้าย ๆ กับแบบบัส คือเมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบวงแหวนมักใช้สายเคเบิลที่มีวงแหวนสำรองที่สามารถ ส่งข้อมูลในทิศทางกลับกัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในกรณีที่เครือข่ายมีปัญหา ซึ่งราคาแพงพอสมควร นอกจากนี้การเพิ่มเครื่องเข้าไปในเครือข่ายจะต้องปิดการทำงานของระบบก่อน เช่นเดียวกับแบบบัส เครือข่ายแบบนี้ปัจจุบันยังใช้กันอยู่ โดยเฉพาะในเครือข่ายของผลิตภัณฑ์ในตระกูล IBM ซึ่งโดยมากจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์




แบบโครงสร้างแบบริง (Ring Network)

5. ข้อดี – ข้อเสีย
ข้อดีของการใช้ระบบโทโปโลยี LAN แบบ วงแหวน
1. ทำการติดตั้งง่าย เพราะมีสายสัญญาณเพียงเส้นเดียวเท่านั้น
2. ประหยัดอุปกรณ์เทอร์มิเนเตอร์ เพราะแบบวงแหวนนี้ไม่ต้องใช้ อุปกรณ์เทอร์มิเนเตอร์
3. มีการชนกันของสัญญาณน้อยกว่าแบบบัส เพราะมีขบวนการตรวจสอบเส้นทาง

ข้อเสียของการใช้ระบบโทโปโลยี LAN แบบวงแหวน
1. เมื่อสายสัญญาณเครื่องใดเครื่องเกิดเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งไปยังเครื่องอื่นๆได้เลย
2. เสียงบประมาณค่าใช้จ่ายในเรื่องของสายสัญญาณมากกว่าแบบบัส
3. การขยายเพิ่มเติมทำได้ยากเพราะต้องตัดและต่อ จึงทำให้ต้องทำการปิดระบบ
4. ถ้ามีการเพิ่มเครื่องคอมฯมากขึ้นเรื่อยๆจะทำให้การส่งข้อมุลช้าลง แต่ก็ยังคงเร็วกว่าแบบบัส


6. ข้อคิดเห็น
ถ้าเราเราเป็นเจ้าของกิจการทำไมเราถึงเลือกเครือข่ายแบบวงแหวน และไม่เลือกเพราะอะไร
เลือกเพราะ
1. เพราะทำการติดตั้งง่าย เพราะมีสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว
2. เพราะแบบวงแหวนนี้ไม่ต้องใช้ อุปกรณ์เทอร์มิเนเตอร์ ซึ่งทำให้ประหยัด
ไม่เลือกเพราะ
1. เมื่อสายสัญญาณเครื่องใดเครื่องเกิดเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งไปยังเครื่องอื่นๆได้เลย
2. เสียงบประมาณค่าใช้จ่ายในเรื่องของสายสัญญาณมากกว่าแบบบัส
3. การขยายเพิ่มเติมทำได้ยากเพราะต้องตัดและต่อ จึงทำให้ต้องทำการปิดระบบ


ที่มา : http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page13010.asp
http://www.yupparaj.ac.th/CAI/LAN/index.htm
http://learners.in.th/blog/ssw33143/335460
http://learners.in.th/blog/love-sex/304911
http://www.thaiinternetwork.com/networking-knowledge/networking-chapter/network-topologies/
http://gotoknow.org/blog/manat108/174149

นางสาวเอมมิกา เจาะจง
รหัส 49043494346
Sec.03

7 ความคิดเห็น: